เพรสเชอร์คอนโทรล

(Pressure Control)

เพรสเชอร์คอนโทรล อุปกรณ์ควบคุมความดันของคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็น

เพรสเชอร์คอนโทรลที่ใช้ในงานเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็นมี 2 ชนิด คือ

  1. ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล (High Pressure Control)
  2. โลเพรสเชอร์คอนโทรล (Low Pressure Control)

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรลจะต่อเข้ากับด้านความดันสูงของระบบ โดยต่อเข้ากับท่อดิสชาร์จของคอมเพรสเซอร์
ซึ่งควบคุมความดันด้านความดันสูงของระบบ
ส่วนโลเพรสเชอร์คอนโทรลจะต่อเข้ากับด้านความดันต่ำของระบบ ตามปกติจะต่อเข้ากับท่อซักชั่นของคอมเพรสเชอร์
โดยควบคุมความดันทางด้านความดันต่ำของระบบ

หลักการทำงานของไฮเพรสเชอร์คอนโทรล และโลเพรสเชอร์คอนโทรล

หลักการทำงานของทั้งไฮเพรสเชอร์คอนโทรล และโลเพรสเชอร์คอนโทรลนั้น จะทำงานคล้ายกับหลักการของเทอร์โมสตัทแบบกระเปาะ จะมีข้อแตกต่างกันก็ตรงที่แหล่งของความดันที่กระทำต่อเบลโล หรือไดอะแฟรม

ถ้าเป็นเทอร์โมสตัท ความดันของสารทำความเย็นที่กระทำต่อเบลโลเพื่อตัดต่อหน้าสัมผัส จะเกิดจากความดันของสารทำความเย็นในกระเปาะ เมื่ออุณหภูมิสูง ความดันจะสูง และเมื่ออุณหภูมิต่่ำ ความดันก็จะต่ำ
แต่ถ้าเป็นเพรสเชอร์คอนโทรล สารทำความเย็นที่กระทำต่อเบลโลเพื่อตัดต่อหน้าสัมผัสนั้น จะเกิดจากความดันของสารทำความเย็นในระบบโดยตรง

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล (High Pressure Control)

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล จะทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าที่เข้าคอมเพรสเชอร์เพื่อหยุดการทำงาน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบของเครื่องทำความเย็น เมื่อความดันในระบบด้านความดันสูง มีค่ามากเกินกว่าปกติ
และเมื่อความดันลดลงสู่ระดับปกติ ไฮเพรสเชอร์คอนโทรลจะต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อให้ระบบเริ่มทำงานใหม่

แต่เนื่องจากไฮเพรสเชอร์คอนโทรล เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันอันตรายให้กับระบบเครื่องทำความเย็น
ดังนั้นเครื่องทำความเย็นบางชนิดจึงมีอุปกรณ์ล็อกตัว (Lock Out) กันไม่ให้ไฮเพรสเชอร์คอนโทรลต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อเดินเครื่องใหม่เอง จนกว่าจะหาข้อขัดข้องที่ทำให้ความดันของระบบสูงเกินกว่าปกติ และทำการแก้ไขให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะกดปุ่มตั้งใหม่ (Reset) แล้วเดินเครื่องต่อไปได้
การตั้งช่วงในการตัด-ต่อของไฮเพรสเชอร์คอนโทรลนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสารทำความเย็นที่ใช้ในระบบ
ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติที่แตกต่างกันของสารทำความเย็นแต่ละชนิด

โลเพรสเชอร์คอนโทรล (Low Pressure Control)

โลเพรสเซอร์คอนโทรล ทำหน้าที่ 2 ประการคือ

  1. ป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบของเครื่องทำความเย็น เมื่อความดันในระบบด้านความดันต่ำลดลงต่ำกว่าปกติ
    โลเพรสเชอร์คอนโทรลจะตัดวงจรไฟฟ้าที่เข้าคอมเพรสเซอร์ เพื่อหยุดการทำงานของระบบ
    และเมื่อระดับความดันกลับสู่สภาวะปกติ โลเพรสเชอร์คอนโทรลจะต่อวงจรไฟฟ้าและสตาร์ทเครื่องใหม่
    ซึ่งจะมีอุปกรณ์ล็อกตัวป้องกันการเดินเครื่องเอง เช่นเดียวกันกับไฮเพรสเชอร์คอนโทรล
  2. ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิระบบ เช่นเดียวกับเทอร์โมสตัทแบบกระเปาะ แต่จะอาศัยผลความดันของสารทำความเย็นในระบบด้านความดันต่ำที่กระทำต่อเบลโล เพื่อตัดต่อหน้าสัมผัส แทนความดันของสารทำความเย็นจากในกระเปาะ

รายชื่อและรุ่นสินค้า ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล ที่จำหน่าย

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล
ยี่ห้อ SAGINOMIYA
รุ่น FTB-A301

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล
ยี่ห้อ RANCO 
รุ่น GD26500

ไฮเพรสเชอร์คอนโทรล
รุ่น YK-01H
แบบไม่มีสาย

รายชื่อและรุ่นสินค้า โลเพรสเชอร์คอนโทรล ที่จำหน่าย

โลเพรสเชอร์คอนโทรล
ยี่ห้อ SAGINOMIYA
รุ่น ETB-A301

โลเพรสเชอร์คอนโทรล
ยี่ห้อ SAGINOMIYA
รุ่น LTB-A301

โลเพรสเชอร์คอนโทรล
รุ่น YK-03L
แบบมีสาย

error: Content is protected !!